วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

ทำกันได้บ้างหรือเปล่าค่ะ ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ค่ะ
พยายามทำให้เสร็จนะค่ะ!!!!!!

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

การเกิดภาพจากเลนส์

ภาพ (image) เกิดจากการตัดกันหรือเสมือนตัดกันของรังสีของแสงที่สะท้อนมาจากกระจกหรือหักเหผ่านเลนส์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ภาพจริง เกิดจากรังสีของแสงตัดกันจริง เกิดด้านหน้ากระจกหรือด้านหลังเลนส์ ต้องมีฉากมารับจึงจะมองเห็นภาพ ลักษณะภาพหัวกลับกับวัตถุ มีทั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ เท่ากับวัตถุ และเล็กกว่าวัตถุ ซึ่งขนาดภาพจะสัมพันธ์กับระยะวัตถุ เช่น ภาพที่ปรากฏบนจอภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ภาพเสมือน เกิดจากรังสีของแสงเสมือนตัดกัน ทำให้เกิดภาพด้านหลังกระจกหรือด้านหน้าเลนส์ มองเห็นภาพได้โดยไม่ต้องใช้ฉากรับภาพ ภาพมีลักษณะหัวตั้งเหมือนวัตถุ เช่น ภาพเกิดจากแว่นขยาย เป็นต้น

เลนส์

เลนส์ (lens) คือ วัตถุโปร่งใสที่มีผิวหน้าโค้งทำจากแก้วหรือพลาสติก เลนส์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เลนส์นูนและเลนส์เว้า
เลนส์นูนเลนส์นูน (convex lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะหนาตรงกลางและบางที่ขอบ ดังรูป


รูปแสดงลักษณะเลนส์นูน

รูปแสดงส่วนสำคัญและรังสีบางรังสีของเลนส์


เลนส์นูนทำหน้าที่รวมแสงขนานไปตัดกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งแนวหรือทิศทางของแสงที่เข้ามายังเลนส์สามารถเขียนแทนด้วยรังสีของแสง ถ้าแสงมาจากระยะไกลมากเรียกระยะนี้ว่า " ระยะอนันต์"เช่น แสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงดาวต่างๆ แสงจะส่องมาเป็นรังสีขนาน เมื่อรังสีของแสงผ่านเลนส์จะมีการหักเหและไปรวมกันที่จุดๆ หนึ่งเรียกว่า "จุดโฟกัส (F)" ระยะจากจุดโฟกัสถึงกึ่งกลางเลนส์ เรียกว่า "ความยาวโฟกัส (f)" และเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวทั้งสองของเลนส์เรียกว่า " แกนมุขสำคัญ (principal axis)"


ภาพที่เกิดจากเลนส์นูน

ภาพจากเลนส์นูนเป็นภาพที่เกิดจากรังสีหักเหไปพบกันที่จุดๆ หนึ่ง ซึ่งมีทั้งภาพจริงและภาพเสมือนขึ้นอยู่กับตำแหน่งวัตถุที่วางหน้าเลนส์ ดังรูป

รูปแสดงตัวอย่างภาพจริงและภาพเสมือนที่เกิดจากเลนส์นูน



(ก) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยู่ห่างเลนส์นูนระยะไกลกว่าความยาวโฟกัส

(ข) การเกิดภาพเมื่อวัตถุอยู่ห่างจากเลนส์นูนที่ระยะใกล้กว่าความยาวโฟกัส

รูปแสดงตัวอย่างการเกิดภาพที่ตำแหน่งต่างๆ ของเลนส์นูน

เลนส์เว้า

เลนส์เว้า (concave lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะบางตรงกลางและหนาที่ขอบ ดังรูป

รูปแสดงลักษณะเลนส์เว้า

ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้าเมื่อแสงส่องผ่านเลนส์เว้ารังสีหักเหของแสงจะกระจายออก ดังรูป

รูปแสดงภาพที่เกิดจากเลนส์เว้าเมื่อวางวัตถุที่ระยะต่างๆ

แหล่งที่มา http://www.maceducation.com/e-knowledge/2432209100/20.htm

แสงและการเกิดภาพ

ตัวอย่างการเกิดภาพจากเลนส์นูน ให้นักเรียนลองเข้าไปดู
http://www.physics.cmru.ac.th/ephysics/java/lens_eg.htm


คำชี้แจง ให้นักเรียตอบคำถามต่อไปนี้

ตอนที่ 1 ให้นักเรียนตอบคำถามแล้วส่งเมลล์ให้คุณครูภายในชั่วโมงโดยส่งมาที่เมลล์
thapani_2010@hotmail.com
1. สมบัติของแสงมี อะไรบ้าง
2. ให้นักเรียนอธิบายความหมายของการหักเหของแสง
3. ให้นักเรียนอธิบายการหักเหของแสงจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมาก มีลักษณะอย่างไร
4. ให้นักเรียนอธิบายการหักเหของแสงจากตัวกลาง ที่มีความหนาแน่นมากไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อย มีลักษณะอย่างไร
5. ให้นักเรียนอธิบายการสะท้อนกลับหมดของแสงมีลักษณะอย่างไร
6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างการหักเหของแสงที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
7. การเกิดภาพจากกระจกเงาเป็นภาพที่มีลักษณะเป็นอย่างไร
8. ภาพที่เกิดจากเลนส์นูนแตกต่างจากภาพที่เกิดจากเลนส์เว้าหรือไม่ อย่างไร
9. ภาพที่เกิดจากเลนส์นูนเกิดไม่กี่แบบ แต่ละแบบจะเกิดขึ้นเมื่อใด
10. ภาพจากเลนส์เว้าเกิดได้กี่แบบ อย่างไรบ้าง

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคำถามลงในสมุด ส่งภายในชั่วโมงที่
อ.ชฎาลักษณ์ ปาลี
1. ถ้านักเรียนนั่งอยู่ริมแม่น้ำที่มีแสงแดดส่องลงไปในแม่น้ำ สามารถมองเห็นปลาในน้ำได้ ซึ่งกำหนดให้มุมตกกระทบเท่ากับ 45 องศา ให้นักเรียนวาดภาพแสดงปลาตัวจริงและปลาที่เห็น โดยเขียนบอกมุมสะท้อนและมุมตกกระทบด้วย และบอกเหตุผลทำไมจึงเห็นเช่นนั้น
2. เลนส์แตกต่างจากระจกอย่างไร
3. ถ้ามีดินสออยู่ 1 แท่ง เมื่อดูผ่านเลนส์นูนจะเห็นภาพเป็นเช่นไร ให้นักเรียนวาดรูปพร้อมบอกส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญและให้นักเรียนบอกขั้นตอนการวาดที่ถูกต้อง
4. ถ้ามีไม้ปักอยู่ 1 แท่ง เมื่อดูผ่านเลนส์เว้าภาพที่เห็นจะเป็นอย่างไร ให้นักเรียนวาดรูปพร้อมบอกส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

การเกิดภาพจากกระจกเงา
กระจกเงาราบกระจกเงาราบ คือ กระจกแบนราบ ซึ่งมีด้านหนึ่งสะท้อนแสง ดังนั้นภาพที่เกิดขึ้นจึงเป็นภาพเสมือน อยู่หลังกระจก มีระยะภาพเท่ากับระยะวัตถุ และขนาดภาพเท่ากับขนาดวัตถุ ภาพที่ได้จะกลับด้านกันจากขวาเป็นซ้ายของวัตถุจริง
รูปแสดงการเกิดภาพจากกระจกเงาราบ